วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน

41201 กฎหมายมหาชน
Public Law

หน่วยที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายมหาชน

1. ความคิดเรื่องการแบ่งแยกสาขาของกฎหมายออกเป็น กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนมีมาตั้งแต่สมัยโรมัน
2. ความคิดเรื่องการแบ่งแยกสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชน เห็นได้ชัดในประเทศภาคพื้นทวีปยุโรป
3. ประเทศอังกฤษได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมันน้อย และประกอบกับเหตุอื่นๆ อีกหลายเหตุจึงไม่ยอมรับหลักการแบ่งแยกสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชนเด็ดขาดจากกัน
4. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองราษฎร
5. กฎหมายมหาชนแบ่งออกได้หลายประเภทตามความเห็นของนักกฎหมายซึ่งอาจแตกต่างกันได้
6. กฎหมายมหาชนอาจเกิดจากกฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี หรือทฤษฎีทางวิชาการด้านต่างๆก็ได้

1.1 กำเนิดแนวความคิดและพัฒนาการของกฎหมายมหาชน
1. ความคิดเรื่องการแบ่งแยกสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชน และกฎหมายมหาชนมีมาตั้งแต่สมัยโรมัน
2. กฎหมายมหาชนพัฒนามากในประเทศฝรั่งเศส
3. ในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ ไม่มีการแบ่งแยกสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเด็ดขาดจากกัน
4. กฎหมายมหาชนในประเทศไทยยังไม่พัฒนาเท่าที่ควร

1.1.1 กำเนิดแนวความคิดกฎหมายมหาชน
ความคิดในการแบ่งสาขาของกฎหมายออกเป็น กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน มีมาตั้งแต่สมัยใด
ความคิดในการแบ่งสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชน มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมัยอารยะธรรมโรมันโบราณ เมื่อประมาณ 500 ปี ก่อน ค.ศ. แต่ไม่สู้จะมีความสำคัญนัก จนกระทั่งเมื่อ อัลเปียน (Ulpian) ได้อธิบายว่า กฎหมายมหาชนคืออะไร และมีการจัดทำกฎหมายปกครองขึ้นในยุคคลาสสิก จึงได้มีบทบาทสำคัญขึ้น และเสื่อมลงอีกครั้งเมื่อสิ้นสมัยของพระเจ้าจักรพรรดิจัสติเนียน

1.1.2 พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศภาคพื้นยุโรป
กฎหมายมหาชนรุ่งเรืองมากในประเทศใด เพราะเหตุใด
กฎหมายมหาชนรุ่งเรืองมากในประเทศฝรั่งเศส เพราะอิทธิพลของกฎหมายโรมัน อิทธิพลของปรัชญากฎหมายธรรมชาติ และการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 ซึ่งเป็นเหตุให้มีการจัดตั้งสภาแห่งรัฐขึ้นทำหน้าที่เป็นศาลปกครองสูงสุดใน เวลาต่อมา

1.1.3 พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์
นักกฎหมายคนสำคัญของอังกฤษซึ่งมีส่วนทำให้กฎหมายมหาชนในประเทศนั้น พัฒนาช้ากว่าที่ควรคือใคร
นักกฎหมายผู้นั้นคือไดซีย์ (A.V.Diccy) ซึ่งโจมตีการแบ่งสาขาของกฎหมายในฝรั่งเศส และคัดค้านการจัดตั้งศาลปกครองในอังกฤษอย่างรุนแรง

1.1.4 พัฒนาการของกฎหมายมหาชนในประเทศไทย
เหตุใดกฎหมายมหาชนในประเทศไทยจึงพัฒนาช้ากว่าในประเทศอื่น
การพัฒนาช้ากว่าในประเทศอื่นเนื่องจาก
1. เราเพิ่งรู้จักกฎหมายสาขานี้เมื่อประมาณ 50-60 ปี มานี้เอง
2. อิทธิพลของกฎหมายอังกฤษ ทำให้เราไม่เห็นความจำเป็นในการแบ่งแยกสาขากฎหมายอย่างในประเทศภาคพื้นทวีป
3. เราเพิ่งมีกฎหมายที่พอจะจัดเป็นกฎหมายมหาชนได้เมื่อหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้เอง
4. อิทธิพลทางการเมือง การปกครอง หรือการปฏิวัติรัฐประหาร ทำให้พัฒนาการของกฎหมายมหาชนชะงักลง
5. อิทธิพลของหลักการแบ่งแยกอำนาจ ซึ่งเรายังเข้าใจไม่ตรงกัน
6. การจัดการศึกษาวิชากฎหมายในประเทศไทย ไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาการของกฎหมายมหาชน

1.2 ความหมายประเภท และบ่อเกิดของกฎหมายมหาชน
1. กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎร ในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองราษฎร
2. กฎหมายมหาชนแบ่งออกได้หลายประเภทตามความเห็นของนักกฎหมายซึ่งอาจแตกต่างกันได้
3. กฎหมายมหาชนเกิดจากกฎหมายลายลักษณ์อักษร จารีตประเพณี และทฤษฎีทางวิชาการด้านต่างๆ

1.2.1 ความหมายของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชนคืออะไร
กฎหมายมหาชนคือ กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐกับราษฎรในฐานะที่รัฐเป็นฝ่ายปกครองราษฎร

1.2.2 ประเภทของกฎหมายมหาชน
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นกฎหมายเอกชน หรือกฎหมายมหาชน
เป็นที่ถกเถียงกันมาตลอดว่า กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นกฎหมายเอกชนหรือกฎหมายมหาชน แต่ถ้าพิจารณาในแง่ที่ว่าตามกฎหมายนี้ให้อำนาจรัฐเหนือราษฎรในทุกทาง และมีบทบัญญัติเกี่ยวกับพยานอยู่ด้วย จึงถือว่าเป็นกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชนโดยแท้หรือแบบที่ถือกันมาแต่เดิมได้แก่
(1) รัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นในลักษณะเดียวกัน เช่นพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน
(2) กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เช่นกฎหมายเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กฎหมายพรรคการเมือง กฎหมายเกี่ยวกับการออกเสียงแสดงประชามติ กฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาของตุลาการรัฐธรรมนูญ
(3) กฎหมายปกครอง ได้แก่กฎหมายที่วางหลักการจัดระเบียบการปกครองโดยตรง กฎหมายที่กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการบริหารงาน เช่นกฎหมายภาษีอากร กฎหมายเกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม กฎหมายแรงงาน
(4) กฎหมายการคลัง เช่นกฎหมายงบประมาณ กฎหมายเงินตรา
กฎหมายมหาชนที่จัดเพิ่มใหม่เมื่อไม่นานมานี้ได้แก่
(1) กฎหมายอาญา ซึ่งรวมประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายอาญาทหาร
(2) กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา รวมถึงวิธีพิจารณาความในศาลคดีเด็กและเยาวชน
(3) กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งรวมกฎหมายล้มละลาย
(4) กฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลยุติธรรม
(5) กฎหมายเศรษฐกิจ

1.2.3 บ่อเกิดของกฎหมายมหาชน
กฎหมายมหาชนมีที่มา หรือบ่อเกิดจากแหล่งใดบ้าง
กฎหมายมหาชนมีที่มาจาก
(1) กฎหมายลายลักษณ์อักษร
(2) กฎหมายที่มิได้บัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร
นอกจากนี้ยังมีบ่อเกิดจากทฤษฎีการเมือง การปกครอง และการคลังอีกด้วย

แบบประเมินผล หน่วยที่ 1
1. กฎหมายแพ่ง จัดเป็นกฎหมายเอกชน
2. กฎหมายรัฐธรรมนูญ จัดเป็นกฎหมายมหาชน
3. กฎหมายมหาชนมีมาตั้งแต่สมัยอารยธรรม โรมันโบราณ
4. กฎหมายมหาชนอาจเกิดจาก (ก) ตัวบทกฎหมาย (ข) จารีตประเพณี (ค) คำพิพากษาศาล (ง) ทฤษฎีต่างๆ
5. ผู้ที่อธิบายความหมายของกฎหมายมหาชนไว้อย่างชัดเจนคนแรกคือ อัลเปียน (Alpian)
6. กลุ่มที่ศึกษากฎหมายโรมัน และค้นพบว่าในสมัยก่อนก็มีการแบ่งสาขาของกฎหมายออกเป็นกฎหมายมหาชนแล้วคือ กลุ่มกลอสซาเดอร์ (Glossator)
7. กฎหมายมหาชนพัฒนาไปมากใน ประเทศภาคพื้นทวีป
8. ผู้ตั้งกองเซยเดตาท์ (Conseil d’Etat) ขึ้นในประเทศฝรั่งเศสคือ นโปเลียน (Napolian)
9. หน่วยงานที่มีส่วนในการพัฒนากฎหมายมหาชนในประเทศไทยมีหลายหน่วยงาน แต่ที่นับว่าสำคัญที่สุดในที่นี้คือ สำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา
10. กฎหมายมหาชน รุ่งเรืองมากในประเทศ ฝรั่งเศส
11. นักกฎหมายผู้ที่ทำให้กฎหมายมหาชนพัฒนาได้ช้า คือ ไดซีย์
12. ในประเทศไทยเรารู้จักกฎหมายมหาชนมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 6
13. นักกฎหมายบางคนถือว่า กฎหมายระหว่างประเทศเป็นกฎหมายมหาชน
14. บุคคลสำคัญที่ทำให้กฎหมายเอกชนพัฒนาไปมากคือ พระเจ้าจักรพรรดิจัสติเนียน
15. ปรัชญากฎหมายที่ทำให้กฎหมายมหาชนพัฒนาไปเป็นอันมากคือ ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ
16. กฎหมายไทยจัดอยู่ในระบบกฎหมาย โรมาโน-เยอร์มานิค (Romano-Germanic)



หน่วยที่ 2 ปรัชญารากฐานในกฎหมายมหาชน

1. ปรัชญากฎหมายและการเมืองมีส่วนในการทำให้กฎหมายมหาชนพัฒนาไปมาก
2. ปรัชญารากฐานสำคัญในทางกฎหมายมหาชน ได้แก่ปรัชญาว่าด้วยรัฐ และปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย
3. การแบ่งแยกอำนาจหมายถึง การมอบอำนาจอธิปไตยให้องค์กรต่างๆ แยกกันทำหน้าที่ตามความจำเป็น

2.1 นักปรัชญาสำคัญบางคนที่มีอิทธิพลต่อกฎหมายมหาชน
1. กฎหมายมหาชนไม่เพียงแต่เป็นเรื่องในทางนิติศาสตร์เท่านั้น แต่ต้องอาศัยหลักวิชารัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนปรัชญาด้วย
2. ปรัชญากฎหมายธรรมชาติมีส่วนทำให้กฎหมายมหาชนพัฒนาไปเป็นอันมาก
3. นักปรัชญาสมัยก่อนไม่สู้พอใจสภาพสังคมในสมัยตนจึงมักเสนอให้แก้ไขสภาพสังคม เสียใหม่ หรือมิฉะนั้นก็สมมติสังคมใหม่ในอุดมคติของตนขึ้น

2.1.1 บทบาทของนักปรัชญาในการพัฒนากฎหมายมหาชน
นักปรัชญามีบทบาทในการพัฒนากฎหมายมหาชนอย่างไร
กฎหมายมหาชนไม่ได้เกิดจากตัวบทกฎหมายใดโดยเฉพาะ หากแต่พัฒนาไปตามความคิดนักปรัชญากฎหมายในแต่ละสมัย ปรัชญาของใครมีผู้เห็นด้วยก็เอาไปใช้เป็นรากฐานในการจัดทำตัวบทกฎหมายมหาชน เช่น ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออ ทฤษฎีการจัดรูปแบบองค์กรวินิจฉัยว่ากฎหมายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ของเคลเซ่น เป็นต้น

2.1.2 นักปรัชญาสมัยกรีก
นักปรัชญาในสมัยกรีก
(1) โสกราติส ปรัชญาเมธีชาวกรีกผู้ยิ่งใหญ่ มีชีวิตอยู่ประมาณ 469 ถึง 399 ปี ก่อน ค.ศ.
(2) เปลโต้ มีชีวิตอยู่ระหว่าง 427 ถึง 327 ปี ก่อน ค.ศ.
(3) อริสโตเติล มีชีวิตอยู่เมื่อ 384 ถึง 322 ปี ก่อน ค.ศ. เป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์

2.1.3 นักปรัชญาสมัยโรมัน
สมัยที่โรมันรุ่งเรืองขึ้นแทนที่กรีก
(1) ซิเซโร่ (106 ปี ก่อน ค.ศ.)
(2) นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (354)

2.1.4 นักปรัชญาสมัยกลาง
สมัยกลางเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 476
(1) จอห์นแห่งซอสเบอรี (1120)
(2) นักบุญโธมัส อไควนัส (1230)

2.1.5 นักปรัชญาสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
นักปรัชญาสำคัญสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา (ปี ค.ศ. เกิด ในวงเล็บต่อท้าย)
(1) ฌอง โบแดง (1529)
(2) โธมัส ฮอบส์ (1588)

2.1.6 นักปรัชญาหลังสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา
นักปรัชญาที่สำคัญสมัยหลังฟื้นฟูศิลปะวิทยา
(1) เจมส์ แฮริงตัน ชาวอังกฤษ ปี 1611 -1677
(2) จอห์น ล้อค ชาวอังกฤษ ปี 1632-1704
(3) เอ็ดมัน เบอร์ค ปี 1729-1797
(4) เจเรมี แบนเธม ชาวอังกฤษ ปี 1748-1832
(5) อัลเบิร์ต เวนน์ ไดซีย์ ชาวอังกฤษ ปี 1835-1922
(6) มองเตสกิเออ ชาวฝรั่งเศส 1689-1755
(7) ฌอง ฌาคส์ รุสโซ่ ชาวสวิส ปี1712-1778
โธมัส เจฟเฟอร์สัน ชาวเวอร์จิเนีย ปี 1743-1826
(9) จอห์น มาร์แชล เกิดในอเมริกา ปี 1755-1835
(10) คาร์ล มาร์ก เป็นชาวยิวเกิดในเยอรมัน ปี 1818-1883
(11) ฮันส์ เคลเส้น ชาวเช็ก ปี 1881-19**

2.2 ปรัชญาว่าด้วยรัฐ
1. ทฤษฎีอธิบายกำเนิดของรัฐมีหลายทฤษฎี แต่ที่นับว่านิยมอ้างกันมากที่สุด คือทฤษฎีวิวัฒนาการของอริสโตเติล ซึ่งเชื่อว่ารัฐเกิดจากวิวัฒนาการทางการเมืองของมนุษย์
2. ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล เป็นองค์ประกอบทางการเมืองของรัฐ
3. รัฐที่ยกย่องหรือนับถือกฎหมายเป็นหลักของบ้านเมืองเรียกว่า นิติรัฐ
4. หลักนิติธรรม เป็นหลักสำคัญของนิติรัฐ ซึ่งทำให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความเป็นธรรมในสังคม

2.2.1 วิวัฒนาการแนวคิดเรื่องกำเนิดของรัฐ
อริสโตเติลอธิบายเรื่องกำเนิดของรัฐว่าอย่างไร
อริสโตเติลเรียกว่า Polis อันหมายถึงระเบียบองค์การขั้นสูงของประชาคมและอธิบายว่า รัฐเกิดจากวิวัฒนาการในทางการเมืองของมนุษย์ โดยเริ่มจากการอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ แล้วขยายตัวใหญ่ขึ้นจนเป็นสังคมเผ่าพันธุ์ และในที่สุดก็กลายเป็นนครหลายนคร เป็นจักรวรรดิ รัฐจึงเกิดจากมนุษย์นั่นเอง

2.2.2 องค์ประกอบของรัฐ
รัฐเป็นนิติบุคคลหรือไม่
ในแง่กฎหมายเอกชน รัฐจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ขึ้นอยู่กับกฎหมายเอกชนของแต่ละรัฐเอง ข้อนี้อธิบายได้ว่ารัฐไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนของไทยและประเทศใดๆ
ในแง่กฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นกฎหมายมหาชนตามความหมายและการจัดประเภทแนวหนึ่งรัฐเป็นนิติบุคคล แต่ในแง่กฎหมายมหาชนทั่วไป เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปกครอง รัฐจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชนของแต่ละรัฐ ข้อนี้อธิบายได้ว่ารัฐไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนของไทยและประเทศใดๆ

2.2.3 นิติรัฐ
อธิบายแนวคิดเรื่องนิติรัฐ
นิติรัฐ หมายถึงรัฐที่ยอมอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย หลักนี้ให้ความคุ้มครองของประชาชน ว่าการดำเนินงานใดๆ ก็ตามของรัฐจะต้องเป็นไปตามกฎหมายมิใช่อำเภอใจของผู้ปกครองประเทศ

2.3 ปรัชญาว่าด้วยอำนาจอธิปไตย
1. ในปัจจุบันถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติหรือเป็นของประชาชน
2. อำนาจอธิปไตยมีลักษณะเด็ดขาด ครอบคลุมทั่วไป ถาวรและแบ่งแยกกันเป็นเจ้าของไม่ได้
3. เดิมถือว่าการแบ่งแยกอำนาจ คือการแบ่งแยกออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ปัจจุบันถือว่า เป็นการแบ่งแยกหน้าที่กันทำโดยองค์กรต่างๆ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมี 3 องค์กรเสมอไป

2.3.1 ความหมายและเจ้าของอำนาจอธิปไตย
อำนาจอธิปไตยเป็นของใคร
มีทฤษฎีที่อธิบายถึงความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอยู่หลายทฤษฎีคือ
(1) อำนาจอธิปไตยเป็นของพระผู้เป็นเจ้า
(2) อำนาจอธิปไตยเป็นของพระสันตะปาปา
(3) อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์
(4) อำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ
(5) อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน
ในปัจจุบันถือตามทฤษฎีที่ 4 และ 5 ซึ่งสอดคล้องกับระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยยิ่งกว่าทฤษฎีอื่น

2.3.2 ลักษณะของอำนาจอธิปไตย
อำนาจอธิปไตยเกี่ยวพันกับรัฐอย่างไร
อำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบประการหนึ่งของรัฐ ถ้าไม่มีอยู่ในสังคมใด สังคมนั้นก็ไม่เรียกว่ารัฐ อำนาจอธิปไตยนั้นไม่อาจถูกแบ่งแยกกันออกเป็นหลายเจ้าของได้ ถ้าแบ่งกันเป็นเจ้าของรัฐเดิมก็สูญสลายหรือต้องแยกออกเป็นสองรัฐ เช่น เกาหลีต้องแบ่งออกเป็นเกาหลีเหนือและใต้ เป็นต้น

2.3.3 การแบ่งแยกอำนาจ
ทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ หรือการแบ่งแยกหน้าที่เป็นแนวความคิดที่ต้องการสนับสนุนหรือโต้แย้งหลักการใด
ทฤษฎีนี้ต้องการสนับสนุนหลักการที่ว่า สมาชิกในสังคมควรแบ่งงานหรือแบ่งหน้าที่กันทำ เพื่อจะได้มีหลักประกันว่าจะไม่ถูกรังแกโดยอำนาจเผด็จการของผู้ใด กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทฤษฎีนี้ต้องการโต้แย้งหลักการรวมอำนาจหรือการตั้งตนเป็นเผด็จการนั่นเอง

2.3.4 รูปแบบของการใช้อำนาจอธิปไตย
ประเทศไทยจัดรูปแบบของการใช้อำนาจอธิปไตยอย่างไร
ประเทศไทยจัดรูปแบบของการใช้อำนาจอธิปไตยโดยแบ่งแยกองค์กรซึ่งทำหน้าที่ ต่างๆ ออกจากกันเป็น 3 องค์กรคือ องค์กรนิติบัญญัติ องค์กรบริหาร และองค์กรตุลาการ แต่ให้เกี่ยวข้องกันได้ ดังที่เรียกว่าระบบรัฐสภา ซึ่งมีใช้อยู่ในอังกฤษ ญี่ปุ่น เป็นต้น

แบบประเมินผล หน่วยที่ 2
1. นักกฎหมายที่ได้รับการยกย่องมากในทางกฎหมายมหาชนคือ มองเตสกิเออ (Montesquieu)
2. บิดาแห่งรัฐศาสตร์คือ อริสโตเติล
3. คำที่ใช้เรียกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรม และมีความผูกพันกับในทางสายเลือด ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม เรียกว่า ชาติ
4. ความคิดว่าประเทศควรเป็นนิติรัฐมีมาตั้งแต่สมัย กรีก
5. ปัจจุบันนี้ ผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย คือ ชาติ และ ประชาชน
6. องค์กรผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติของไทย คือ รัฐสภา
7. รัฐธรรมนูญไทยถือว่า ศาลทหารเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจ ตุลาการ
8. ระบบรัฐบาลไทยใกล้เคียงกับระบบรัฐบาลของประเทศ อังกฤษ
9. บุคคลสำคัญที่อธิบายเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ คือ มองเตสกิเออ (Montesquieu)
10. ปรัชญากฎหมายที่มีส่วนทำให้กฎหมายมหาชนพัฒนาไปมากคือ ปรัชญากฎหมายธรรมชาติ
11. นักปรัชญาคนสำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา คือ โบแดง ฮอบส์ (Bodin Hobs)
12. องค์ประกอบสำคัญของรัฐคือ อำนาจอธิปไตย
13. รัฐที่เคารพในหลักนิติธรรม เรียกว่า นิติรัฐ
14. บุคคลสำคัญที่อธิบายว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติหรือประชาชนคือ รัสโซ (Rousseau)
15. วรรณกรรมเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน คือ สัญญาประชาคม
16. บุคคลสำคัญที่อธิบายเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ คือ มองเตสกิเออ
17. ระบบรัฐบาลของไทยต่างกับระบบรัฐบาลของสหรัฐอเมริกามากที่สุด
18. ศาลทหารใช้อำนาจอธิปไตยอำนาจ ตุลาการ
19. คณะรัฐมนตรี เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจบริหาร



หน่วยที่ 3 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ

1. รัฐธรรมนูญมีความหมายต่างกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
2. ประเทศจำเป็นต้องมีรัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลทางนิติศาสตร์และทางการเมือง
3. รัฐธรรมนูญเกี่ยวพันกับอำนาจสำคัญสองอำนาจ คือ อำนาจการจัดให้มีและอำนาจการจัดทำรัฐธรรมนูญ
4. รัฐธรรมนูญไทยจัดอยู่ในประเภทแก้ไขยาก
5. การแก้ไขต่างกับการยกเลิกรัฐธรรมนูญ
6. รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรมีโครงร่างคล้ายๆกันคือมีคำปรารภ และเนื้อความที่ว่าด้วยกฎเกณฑ์การปกครองประเทศ สิทธิเสรีภาพ การแก้ไข ความเป็นกฎหมายสูงสุด หน้าที่พลเมือง และแนวนโยบายแห่งรัฐ
7. ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว
8. การมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็เป็นประชาธิปไตยได้

3.1 ประวัติรัฐธรรมนูญ
1. รัฐธรรมนูญกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมีความหมายแตกต่างกัน
2. “รัฐธรรมนูญ” เป็นกฎหมายที่กำหนดระเบียบหรือกำเกณฑ์ในการปกครองประเทศ
3. รัฐธรรมนูญแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทสุดแต่จะถือเอาเกณฑ์ใดเป็นแนวแบ่งแยก

3.1.1 ความหมายของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญต่างกับกฎหมายรัฐธรรมนูญออย่างไร
รัฐธรรมนูญคือ กฎหมายที่วางระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับรัฐ กล่าวคือ ว่าด้วยดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และรัฐบาล ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรต่างๆ ที่กำหนดขึ้นเพื่อทำหน้าที่แบ่งแยกกันออกไป โดยปกติแล้ว รัฐธรรมนูญต้องตราขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนกฎหมายรัฐธรรมนูญคือ กฎหมายที่ว่าด้วยสถาบันการเมืองต่างๆ ในรัฐ ซึ่งรวมทั้งรัฐธรรมนูญกฎมลเฑียรบาล จารีตประเพณีทางการเมืองและกฎหมายอื่นๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญอาจไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญของอังกฤษ หรือแม้แต่จารีตประเพณีทางการเมืองของไทย เป็นต้น

3.1.2 ประวัติแนวคิดในการจัดทำรัฐธรรมนูญ
สังคมใดที่ไม่มีการแบ่งแยกอำนาจ สังคมนั้นหาได้ชื่อว่ามีรัฐธรรมนูญไม่ หมายความว่าอย่างไร
ข้อความดังกล่าวมาจาก ข้อ 16 ของปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษย์และราษฎรของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการให้ความหมายของรัฐธรรมนูญไว้ว่าจะเป็นธรรมนูญได้ ต้องยอมรับหลักการแบ่งแยกอำนาจตามทฤษฎีของมองเตสกิเออ ความเชื่อที่แพร่หลายอยู่ในสมัยที่สามของประวัติแนวความคิดดังในการจัดทำรัฐ ธรรมนูญ แต่ปัจจุบันความเชื่อนี้ผ่อนคลายลงมากแล้ว

3.1.3 ประเภทของรัฐธรรมนูญ
ที่กล่าวว่า “รัฐธรรมนูญแบ่งออกตามวิธีการแก้ไขได้สองแบบคือ แบบแก้ไขง่ายและแบบแก้ไขยาก” เข้าใจว่าอย่างไร
เป็นการแบ่งแยกโดยถือวิธีการแก้ไขเป็นเกณฑ์ ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นอย่างอื่นได้อีกหากจะถือเกณฑ์อื่นที่ว่าแก้ไขง่าย หมายความว่ากฎเกณฑ์ในการแก้ไขค่อนข้างสะดวกเอื้อต่อการแก้ไขใกล้เคียงกับการ แก้ไขกฎหมายธรรมดา ส่วนที่ว่าแก้ไขยาก หมายความว่ากฎเกณฑ์ในการแก้ไขค่อนข้างเคร่งครัด ยุ่งยาก ใช้เวลานาน ต้องอาศัยมติข้างมาก นับว่ายากแก่การแก้ไขกฎหมายธรรมดา

3.2 การจัดทำรัฐธรรมนูญ
1. ผู้จัดให้มีรัฐธรรมนูญขึ้นมักเป็นผู้มีอำนาจทางการเมือง หรืออยู่ในฐานะรัฎฐาธิปัตย์
2. การจัดทำรัฐธรรมนูญอาจทำโดยบุคคลคนเดียว หรือหลายคนหรือจัดทำโดยสภาในชื่อต่างๆกันก็ได้
3. การจัดทำรัฐธรรมนูญที่สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตยควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย
4. รัฐธรรมนูญที่ดีไม่ควรมีข้อความยาวและมีหลายมาตราเกินไปนัก รายละเอียดต่างๆ จึงมักไปกำหนดไว้ในกฎหมายอื่นซึ่งเรียกว่า “กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ”
5. รัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้น 20 ฉบับ แต่ถ้านับเฉพาะฉบับที่สำคัญจะมีเพียง 13 ฉบับ

3.2.1 อำนาจการจัดให้มีรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญเกิดจากอำนาจสำคัญสองประการคือ อำนาจการจัดให้มีและอำนาจการจัดทำรัฐธรรมนูญ หมายความว่าอย่างไร
หมายความว่ารัฐธรรมนูญจะต้องเกิดจากความคิดและการจัดทำ ของผู้อยู่ในฐานะต่างกัน อย่างไรก็ตามในบางครั้ง ผู้คิดให้มีรัฐธรรมนูญขึ้นกับผู้จัดทำอาจเป็นคนเดียวกันได้ เช่น ผู้เป็นหัวหน้าในการปฏิวัติที่ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใช้ด้วย แม้กฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติยา พระราชบัญญัติโรงรับจำนำ ก็ถือว่าเกิดจากความคิดและการจัดทำของผู้มีอำนาจต่างกัน

3.2.2 อำนาจการจัดทำรัฐธรรมนูญ
การจัดทำรัฐธรรมนูญโดยคนเพียงคนเดียว และโดยคนหลายคน อย่างไรจะดีกว่ากัน
การจัดทำเพียงคนๆเดียวจะทำได้เร็วแต่ไม่รอบครอบรัดกุม และมักทำความพอใจให้แก่คนทั่วไปได้ดีกว่าการจัดทำโดยคนเพียงคนเดียว เรื่องเช่นนี้จึงขึ้นอยู่กับสถานการณ์และลักษณะของรัฐธรรมนูญ เช่น ถ้าเป็นฉบับชั่วคราวอาจทำโดยคนเพียงคนเดียว แต่ถ้าเป็นฉบับถาวรควรจัดทำโดยสภานิติบัญญัติหรือสภาร่างรัฐธรรมนูญ

3.2.3 การจัดทำรัฐธรรมนูญ
ประชาชนจะมีส่วนร่วมในการจัดทำรัฐธรรมนูญได้อย่างไรบ้าง
อาจได้รับการเลือกตั้งหรือแต่ตั้ง เข้าไปมีส่วนร่วมในการยกร่าง หรือพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ประชาชนอาจมีส่วนร่วมโดยการแสดงความคิดเห็นติชม หรือออกเสียงแสดงประชามติก็ได้

3.2.4 กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
การแยกบางเรื่องมาบัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ แทนที่จะบัญญัติลงไว้ในรัฐธรรมนูญ มีประโยชน์อย่างไร
มีประโยชน์ดังนี้
(1) ทำให้การร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นหลักใหญ่สำเร็จได้รวดเร็ว
(2) ทำให้รัฐธรรมนูญมีข้อความน้อยจดจำได้ง่าย
(3) ทำให้การแก้ไขกฎเกณฑ์รายละเอียดในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเป็นไปได้ง่าย เพราะกฎหมายประเภทนี้แก้ไขได้ง่ายกว่ารัฐธรรมนูญ
(4) ทำให้วางรายละเอียดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองได้เหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมืองเป็นคราวๆ ไป

3.2.5 รัฐธรรมนูญไทย
รัฐธรรมนูญไทยฉบับใดที่ได้ชื่อว่าเป็นประชาธิปไตยที่สุด
โดยทั่วไปแล้วถือว่ารัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2489 เป็นประชาธิปไตยมากในเรื่องของการให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมกับทางการเมือง ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2492 และ พ.ศ. 2517 เป็นประชาธิปไตยมากในเรื่องการจัดทำและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของพลเมือง

3.3 การแก้ไขและการยกเลิกรัฐธรรมนูญ
1. รัฐธรรมนูญมีทั้งประเภทที่แก้ไขยากและแก้ไขง่าย รัฐธรรมนูญไทยจัดอยู่ในประเภทแก้ไขยาก
2. การยกเลิกรัฐธรรมนูญอาจทำตามวิถีทางรัฐธรรมนูญหรือทำนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญก็ได้
3. การยกเลิกรัฐธรรมนูญโดยผลจากการปฏิวัติหรือรัฐประหาร เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ
4. การปฏิวัติกับการรัฐประหารมีความหมายในทางทฤษฎีแตกต่างกัน

3.3.1 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
จะกำหนดข้อห้ามการแก้ไขไว้ในรัฐธรรมนูญได้หรือไม่
จะห้ามการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาดคงทำไม่ได้ และจะเป็นการยั่วยุให้ผู้ประสงค์จะขอแก้ไขรัฐธรรมนูญเปลี่ยนเป็นยกเลิกรัฐ ธรรมนูญแทน แต่อาจกำหนดข้อห้ามการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตรา หรือบางหลักการในรัฐธรรมนูญได้ดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญบางประเทศ เช่น ตุรกี เยอรมันตะวันตก

3.3.2 การยกเลิกรัฐธรรมนูญ
การปฏิวัติกับการรัฐประหารมีความหมายในทางทฤษฎีต่างกันอย่างไร
การปฏิวัติหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองโดยยึดอำนาจการปกครองอย่างฉับ พลันทันใด มีการใช้กำลังบังคับ และจัดตั้งระบอบการปกครองหรือระบบการเมืองขึ้นใหม่ โดยทั่วไปแล้วการปฏิวัติจะอาศัยกำลังจากทุกฝ่ายร่วมกัน ส่วนการรัฐประหาร (Coup d’ Etat) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโดยการยึดอำนาจการปกครองอย่างฉับพลันทันใด มีการใช้กำลังบังคับ แต่มิได้ตั้งระบอบการปกครองหรือระบบการเมืองขึ้นใหม่ คงมีแต่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่เท่านั้น

3.4 โครงร่างของรัฐธรรมนูญ
1. โดยทั่วไปรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรประกอบด้วยส่วนที่เป็นคำปรารภ และส่วนที่เป็นเนื้อความของรัฐธรรมนูญ
2. ส่วนที่เป็นเนื้อความของรัฐธรรมนูญได้แก่ กฎเกณฑ์ การปกครองประเทศ สิทธิเสรีภาพของประชาชน กฎเกณฑ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ความเป็นกฎหมายสูงสุด หน้าที่พลเมือง แนวนโยบายแห่งรัฐ และอาจมีบทเฉพาะกาลด้วยก็ได้

3.4.1 คำปรารภของรัฐธรรมนูญ
การร่างรัฐธรรมนูญโดยไม่มีคำปรารภได้หรือไม่
ได้ รัฐธรรมนูญบางประเทศก็ไม่มีคำปรารภ แต่คำปรารภมีประโยชน์ดังนี้คือ
(1) ช่วยให้รัฐธรรมนูญสละสลวยขึ้น
(2) ช่วยในการตีความบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ
(3) ช่วยให้ทราบประวัติการเมืองของประเทศนั้น
(4) ช่วยให้ทราบประวัติการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนั้น
(5) บทบัญญัติบางเรื่องอาจบัญญัติไว้ที่อื่นไม่ได้ก็อาจนำมาบัญญัติไว้ในคำปรารภ
ด้วยเหตุนี้ รัฐธรรมนูญของประเทศทั้งหลายจึงนิยมร่างคำปรารภไว้ในรัฐธรรมนูญ

3.4.2 เนื้อความของรัฐธรรมนูญ
นอกจากกฎเกณฑ์การปกครองประเทศแล้ว รัฐธรรมนูญมักมีเนื้อความว่าด้วยเรื่องอะไร
นอกจากกฎเกณฑ์ การปกครองประเทศแล้ว รัฐธรรมนูญอาจกำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน กฎเกณฑ์การแก้ไขเพิ่มเติมความเป็นกฎหมายสูงสุด หน้าที่พลเมือง แนวนโยบายแห่งรัฐและอาจมีบทเฉพาะกาลด้วยก็ได้ (ถ้าจำเป็น)

3.5 รูปของรัฐและรูปแบบของประมุขของรัฐ
1. รูปแบบของรัฐมีทั้งที่เป็นรัฐเดี่ยวและรัฐรวม
2. รูปแบบของรัฐมีส่วนสัมพันธ์กับบทบัญญัติอื่นๆ ในรัฐธรรมนูญซึ่งต้องร่างให้สอดคล้องกัน
3. ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว
4. รูปแบบประมุขของรัฐที่มีทั้งประธานาธิบดีและพระมหากษัตริย์
5. การมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็เป็นประชาธิปไตยได้

3.5.1 รูปแบบของรัฐ
ที่ว่ารัฐธรรมนูญ การแบ่งปันอำนาจระหว่างรัฐบาลกลาง และรัฐบาลมลรัฐเป็นระบบคู่ หมายความว่าอย่างไร
หมายความว่า การใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการในรัฐบาลกลาง กับรัฐบาลมลรัฐจะใช้คู่กันไป คือต่างก็มีอำนาจในขอบเขตของตน เช่น รัฐสภามลรัฐก็ออกกฎหมายใช้เองในมลรัฐ รัฐสภาของรัฐบาลกลางก็ออกกฎหมายใช้ในรัฐบาลกลาง และครอบคลุมทั่วไปทั้งประเทศ เป็นต้น

3.5.2 รูปแบบของรัฐตามรัฐธรรมนูญไทย
ราชอาณาจักรไทยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายความว่าอย่างไร
คำว่า ราชอาณาจักร หมายถึง ดินแดนที่เป็นของประเทศไทยทั้งหมด ไม่ว่าพื้นดิน พื้นน้ำ หรือพื้นอากาศ
คำว่า เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายถึงรูปของรัฐซึ่งเป็นรัฐเดี่ยวมีการใช้อำนาจอธิปไตยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งประเทศ

3.5.3 รูปแบบของประมุขของรัฐ
เราจัดให้มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข กับจัดให้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยผสม ผสาน เข้ากันได้อย่างไร
การมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขกับการมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย สามารถจัดเข้ากันได้โดย
(1) กำหนดให้มีการสืบราชสมบัติต้องอาศัยความเห็นชอบของรัฐบาล
(2) กำหนดให้พระมหากษัตริย์พระราชอำนาจภายใต้รัฐธรรมนูญ
(3) กำหนดให้พระมหากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองโดยมีผู้ลงนามรับสนองพระ บรมราชโองการในพระราชหัตถเลขา ประกาศพระบรมราชโองการ หรือกฎหมายต่างๆ

แบบประเมินผลหน่วยที่ 3
1. กฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์ในการปกครองประเทศและการใช้อำนาจอธิปไตยเรียกว่า รัฐธรรมนูญ
2. กฎมณเฑียรบาล จัดเป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญ
3. รัฐธรรมนูญอาจแบ่งออกได้หลายประเภทเช่น (ก) รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่ายกับรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก (ข) รัฐธรรมนูญของรัฐเดี่ยวและรัฐธรรมนูญของรัฐรวม (ค) รัฐธรรมนูญชั่วคราวกับรัฐธรรมนูญถาวร
4. รัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้น 13 ฉบับ
5. รัฐธรรมนูญชั่วคราวมักมีชื่อเรียกว่า ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
6. ผู้มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบัน ได้แก่ (ก) คณะรัฐมนตรี (ข) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ค) ประมุขของรัฐ
7. คำนำของรัฐธรรมนูญ เรียกว่า คำปรารภ
8. ราชอาณาจักรไทยเป็นรัฐเดี่ยวเพราะ ใช้อำนาจอธิปไตยเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งประเทศ
9. การสืบราชสมบัติของพระมหากษัตริย์ไทยเป็นไปตาม รัฐธรรมนูญและกฎมณเฑียรบาล
10. รัฐธรรมนูญ และธรรมนูญการปกครองต่างกัน คือ รัฐธรรมนูญเป็นฉบับถาวร ธรรมนูญการปกครองเป็นฉบับชั่วคราว
11. รัฐธรรมนูญไทยที่ร่างโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญคือ ฉบับ พ.ศ. 2492
12. กฎหมายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การปกครองประเทศที่แยกออกมาบัญญัติไว้ต่างหากจากรัฐธรรมนูญเรียกว่า กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
13. การแก้ไขกฎมณเฑียรบาลต้องทำอย่างเดียวกับการแก้ไข รัฐธรรมนูญ
14. ตัวอย่างประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยว เช่น ลาว ญี่ปุ่น และไทย
15. ตัวอย่างประเทศที่เป็นรัฐรวม เช่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย แคนาดา
16. ประเทศที่มีกษัตริย์เป็นประมุขเรียกว่า ราชอาณาจักร



หน่วยที่ 4 ระบอบการปกครอง

1. ระบบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีวิวัฒนาการมาจากการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยตรงในนครรัฐเอเธนส์ของประเทศก รีกโบราณ ซึ่งในระยะต่อมาระบอบการปกครองนี้ได้สลายตัวในนครรัฐเอเธนส์ และมาเจริญเติบโตในประเทศอังกฤษ จนกระทั่งกลายเป็นประเทศแม่บทแห่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในปัจจุบัน
2. ระบอบการปกครองแบบเผด็จการเป็นระบอบการปกครองที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรักษา สถานการณ์ ของวิกฤตการณ์ทางสังคมหรือวิกฤตการณ์ที่เกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งอำนาจ ปกครอง โดยใช้วิธีบังคับให้ประชาชนยอมรับความชอบธรรมแห่งอำนาจการปกครองของรัฐบาล ด้วยวิธีการต่างๆ และอำนาจปกครองของรัฐบาลก็มิได้มีพื้นฐานมาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นเหตุให้ประชาชนไม่สามารถถอดถอนรัฐบาลที่ตนตั้งขึ้นมาได้

4.1 ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
1. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีวิวัฒนาการมาจากการปกครองแบบประชาธิปไตยโดย ตรงในนครรัฐเอเธนส์ของประเทศกรีกโบราณ ซึ่งในระยะต่อมาระบอบการปกครองนี้ได้สลายตัวในนครรัฐเอเธนส์ และมาเจริญเติบโตในประเทศอังกฤษ จนกระทั่งกลายมาเป็นประเทศแม่บทแห่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยในปัจจุบัน
2. ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ เป็นระบอบการปกครองที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาสถานการณ์ของวิกฤตการณ์ทางสังคม หรือวิกฤตการณ์ที่เกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครอง โดยใช้วิธีการบังคับให้ประชาชนยอมรับความชอบธรรมแห่งอำนาจการปกครองของ รัฐบาล ด้วยวิธีการต่างๆ และอำนาจปกครองรัฐบาลก็มิได้มีพื้นฐานมาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นเหตุให้ประชาชนไม่สามารถถอดถอนรัฐบาลที่ตนตั้งขึ้นมาได้

4.1.1 วิวัฒนาการของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
อธิบายวิวัฒนาการของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีวิวัฒนาการมาจากระบอบการปกครองโดยตรงของ นครรัฐแห่งประเทศกรีกโบราณที่มีชื่อว่า “นครรัฐเอเธนส์” ระบอบการปกครองนี้เจริญรุ่งเรืองมากในยุคนั้น ต่อมาระบอบการปกครองนี้ได้สลายตัวไปจากประเทศกรีก และมาเจริญเติบโตในประเทศอังกฤษ อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากพวกขุนนางเจ้าของที่ดินได้เข้าไปมีบทบาทในระบบ เศรษฐกิจแบบทุนนิยมอย่างรวดเร็ว จนทำให้กลายเป็นพวกเดียวกันกับพวกชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางนี้ได้จัดระบบการปกครองโดยการเข้าร่วมบริหารชุมชนด้วยตนเอง และถือว่าอำนาจอันชอบธรรมแห่งการปกครองต้องมาจากปวงชน

4.1.2 ความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
อธิบายความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยหมายถึงระบอบการปกครอง ที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ โดยอาศัยหลักการของการแบ่งอำนาจ และหลักการที่ว่าด้วย “ความถูกต้องแห่งกฎหมาย”

4.1.3 องค์ประกอบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
อธิบายองค์ประกอบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
องค์ประกอบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ได้แก่การเลือกตั้งหลักการแบ่งแยกอำนาจและหลักการว่าด้วยความถูกต้องแห่งกฎหมาย

4.1.4 รูปแบบของรัฐบาลในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
อธิบายรูปแบบของรัฐบาลในระบอบการปกครองแบบรัฐสภา
ระบอบการปกครองแบบรัฐสภา คือระบอบการปกครองที่อำนาจขององค์กรฝ่ายบริหารและ องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติทัดเทียมกันหรือใกล้เคียงกัน องค์กรทั้งสองต่างควบคุมซึ่งกันและกันและมีการประสานงานในการดำเนินการต่อ กัน ระบอบการปกครองแบบรัฐสภานี้ องค์กรฝ่ายบริหารจะแบ่งเป็นสององค์กรคือ ประมุขของรัฐซึ่งเป็นกษัตริย์ที่สืบสันติวงศ์ต่อทอดกันมา หรือประธา นาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้ง และคณะรัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารงานของรัฐ

4.2 ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
1. ระบอบการปกครองแบบเผด็จการมีความหมายเป็นสองนัย ประการแรกเป็นระบอบการปกครองชั่วคราวที่มีวัตถุประสงค์ชั่วคราวเพื่อปกปักษ์ รักษาระบอบการปกครองเดิมของสังคม และประการที่สองเป็นระบอบการปกครองที่อำนาจปกครองของรัฐบาลมิได้มีที่มาจาก การเลือกตั้งของประชาชน
2. ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศ ที่มีระบอบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเกิดขึ้นเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางสังคม หรือวิกฤตการณ์ที่เกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครอง
3. ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศ ที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเกิดจากการนำระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมไปใช้ใน ประเทศที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

4.2.1 ความหมายของระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
อธิบายความหมายของระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการมีความหมายสองนัย ความหมายประการแรกหมายถึงระบอบการปกครองชั่วคราวที่มีวัตถุประสงค์ที่จะปก ปักษ์รักษาระบอบการปกครองเดิมที่เผชิญกับวิกฤติการณ์ร้ายแรงในสังคมอันอาจ เป็นอันตรายต่อสถาบันการเมืองและการปกครองที่มีอยู่ในขณะนั้น
ความหมายประการที่สอง หมายถึงระบอบการปกครองที่อำนาจปกครองของรัฐบาลมิได้มีที่มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชน อันเป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่ บริสุทธิ์ยุติธรรม ระบอบการปกครองแบบนี้ ประชาชนไม่มีโอกาสถอดถอนรัฐบาลที่ตนไม่พอใจ และไม่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความคิดเห็นในทางการเมืองได้เสนอความคิดเห็นหรือ วิพากษ์วิจารณ์การบริหารประเทศของรัฐบาล

4.2.2 ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม
ระบบการปกครองแบบเผด็จการจะเกิดขึ้นได้อย่างไร
ระบบการปกครองแบบเผด็จการเกิดขึ้นเมื่อสังคมของประเทศเกิดวิกฤติการณ์ร้าง แรง ซึ่งอาจเป็นวิกฤติการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นเป็นปกติวิสัยและมีความร้ายแรง มากน้อยต่างกัน ในบางครั้งความร้ายแรงแห่งวิกฤติการณ์ทางสังคมอาจถึงขั้นที่จะต้องเปลี่ยน โครงสร้างของสังคม หรืออาจเป็นวิกฤติการณ์ที่เกี่ยวกับกับความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครองที่ขึ้น อยู่กับความเห็นพ้องต้องกันของประชาชนในประเทศ

ยกตัวอย่างวิธีการที่ทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจปกครองแบบเผด็จการ
วิธีการที่ทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจปกครองแบบเผด็จการวิธีหนึ่งคือ การปราบปราม ผู้ซึ่งโต้แย้ง คัดค้านระบบการปกครองแบบเผด็จการ โดยการจับกุมคุมขัง การส่งตัวไปกักกันในค่าย การทรมานและการประหารชีวิต สำหรับกลไกที่ใช้ในการปราบปราม ได้แก่ กฎหมาย ตำรวจและศาล ซึ่งจะทำให้สังคมมีความสงบเรียบร้อยไม่ว่าในระบบการปกครองแบบใด แต่กลไกที่จะใช้ในการปราบปรามที่จะให้ได้ผลเด็ดขาด คือตำรวจลับ ซึ่งมีอำนาจจับกุม คุมขัง และทรมานตลอดจนกระทั่งประหารชีวิตประชาชนที่สงสัยว่าเป็นปรปักษ์ต่อระบบ เผด็จการโดยไม่มีกระบวนการพิจารณา เช่น คดีตามปกติ

4.2.3 ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบอบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม
อธิบายพื้นฐานในทางสังคมนิยมและในทางเศรษฐกิจของประเทศสังคมนิยม
ประเทศสังคมนิยมนั้นยึดถือโครงสร้างในการผลิตเป็นพื้นฐานสำคัญทางสังคม โดยถือว่า เครื่องมือในการผลิตเป็นของส่วนรวมหมายถึงอาจเป็นของรัฐ เป็นขององค์กรส่วนท้องถิ่น หรือเป็นของสหกรณ์นอกจากนี้ยังยึดถืออุดมการณ์เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในระบบสังคมนิยมเพราะอุดมการณ์เป็นความนึกคิดที่มีเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของโครงสร้างในการผลิต อย่างไรก็ดีประเทศสังคมนิยมยอมรับอิทธิพลของอุดมการณ์อย่างอื่นด้วย เช่น อุดมการณ์แบบธรรมเนียมประเพณีและอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นต้น

อธิบายลักษณะของการใช้อำนาจเผด็จการแบบปฏิวัติ
การใช้อำนาจเผด็จการแบบปฏิวัติมีลักษณะเฉพาะสองประการคือ
(1) เป็นการใช้อำนาจเผด็จการแบบชั่วคราวที่คณะปฏิวัติจะทำหน้าที่เสมือนหนึ่งผู้ พิทักษ์หรือผู้อนุบาลอนุบาลระบบการปกครองที่จัดตั้งขึ้น
(2) เป็นเผด็จการที่มุ่งหมายกล่อมเกลา เปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เสรีภาพและการดำรง ชีวิตอยู่โดยไม่ต้องใช้อำนาจเผด็จการ เผด็จการปฏิวัติจะใช้วิธีการสองอย่างควบคู่กันไปคือ การลงโทษและการโฆษณาชวนเชื่อ

4.2.4 รัฐธรรมนูญของประเทศเผด็จการสังคมนิยม
ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญของประเทศเผด็จการสังคมนิยม
ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญของประเทศเผด็จการสังคมนิยมลักษณะหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งแบบหยั่งเสียง รัฐกำหนดให้มีการเลือกตั้งทุกระดับ ตั้งแต่ผู้ใช้อำนาจปกครองท้องถิ่น สมาชิกรัฐสภาและประธานาธิบดี แทนที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะมีสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครหนึ่งในบรรดาผู้สมัคร เลือกตั้งหลายคน แต่กลับมีสิทธิเพียงการให้การรับรองหรือไม่รับรองเห็นชอบผู้สมัครรับเลือก ตั้งคนเดียว ดังนั้นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทางการเมืองจึงมีข้อจำกัด กล่าวได้ว่าไม่มีการแข่งขันกันในทางการเมืองขณะที่มีการเลือกตั้ง

แบบประเมินผลหน่วยที่ 4
1. ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยมีบ่อเกิดมาจากระบอบการปกครองในประเทศ กรีกโบราณ
2. ภายหลังศตวรรษที่ 14 ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเจริญรุ่งเรืองในประเทศอังกฤษ
3. ระบอบการปกครองที่ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ โดยอาศัยหลักการของ การแบ่งแยกอำนาจเป็นระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
4. หลักการว่าด้วยความถูกต้องแห่งกฎหมาย เป็นองค์ประกอบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
5. ถ้ารัฐบาลนี้ เป็นองค์กรหนึ่งขององค์กรฝ่ายบริหารมีเอกสิทธิที่ประชาชนไม่อาจถอดถอนออกจาก ตำแหน่งได้ ลักษณะขององค์กรเช่นนี้ ไม่ใช่ลักษณะขององค์กรของระบอบรัฐสภา
6. ระบอบการปกครองที่ไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนเสนอความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์การบริหารประเทศของรัฐบาล เป็นรูปแบบของรัฐบาลระบบเผด็จการ
7. จะทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจเผด็จการได้ด้วยวิธี การให้อำนาจเด็ดขาดแก่ตำรวจลับในการจับกุมคุมขังและการทรมานตลอดจนการประหารชีวิต
8. ประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบเผด็จการที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมมิได้ ถือเป็นพื้นฐานสำคัญแห่งโครงสร้างในการผลิตนั้น เครื่องมือการผลิตเป็นของเอกชน
9. กลไกของการใช้อำนาจเผด็จการแบบปฏิวัติได้แก่ การปราบปรามลงโทษและการโฆษณาชวนเชื่อ
10. ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญของประเทศเผด็จการที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม การรวมอำนาจการปกครองไว้ที่ศูนย์กลาง
11. ระบอบการปกครองแบบฟาสซิสต์อาศัยหลักการในการบริหารประเทศ หลักการแห่งการปกครองของประเทศอุตสาหกรรม
12. การตั้งสมาคมอาชีพ มิใช่องค์ประกอบของการปกครองแบบประชาธิปไตย
13. ความเท่าเทียมกันแห่งอำนาจขององค์กรฝ่ายบริหารและอำนาจขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติเป็นลักษณะสำคัญของ ระบอบการปกครองแบบรัฐสภา
14. รูปแบบรัฐบาลในระบบประธานาธิบดีมีลักษณะสำคัญประการหนึ่งได้แก่ ประชาชนมีสิทธิถอดถอนรัฐบาลได้
15. การให้อำนาจเด็ดขาดแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐบางกลุ่มในการจับกุมคุมขังลงโทษ ทรมานตลอดจนประหารชีวิตเหมาะสมสำหรับรัฐบาล รูปแบบรัฐบาลในระบบกึ่งประธานาธิบดี
16. ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญของประเทศเผด็จการที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมได้แก่ การเลือกตั้งแบบหยั่งเสียง



หน่วยที่ 5 องค์กรนิติบัญญัติ

1. องค์กรนิติบัญญัติเกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องดุลอำนาจของผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐแต่เดิม ซึ่งมีอำนาจสิทธิ์ขาดแต่ผู้เดียว
2. องค์กรนิติบัญญัติมีรูปแบบ องค์ประกอบ และองค์กรภายในแตกต่างกันไปตามระบบการปกครองของแต่ละประเทศ
3. อำนาจหน้าที่ขององค์กรนิติบัญญัตินอกจากจัดทำกฎหมายแล้ว ยังมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมฝ่ายบริหารและให้ความเห็นชอบฝนเรื่องต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
4. การเลือกตั้งเป็นวิธีการที่ประชาชนแสดงออกซึ่งการใช้อำนาจอธิปไตยผ่านผู้แทนราษฎร
5. พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่เป็นสื่อกลางแนวคิดทางการเมืองของ ประชาชน และเป็นช่องทางให้ประชาชนมีโอกาสร่วมในการปกครองประเทศ

5.1 แนวความคิดเกี่ยวกับองค์กรนิติบัญญัติ
1. อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ แบ่งแยกออกเป็นสาขาสำคัญๆ ได้สามอำนาจคือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ
2. รัฐสภาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติของประเทศอังกฤษเกิดขึ้นในคริสต์ ศตวรรษที่ 13 โดยวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ระบบรัฐสภาของอังกฤษถือเป็นแม่บทของรัฐสภาประเทศต่างๆทั่วโลก
3. ก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช 2475 ได้มีความพยายามที่จะปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และเมื่อได้เปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ก็ได้นำระบบรัฐสภาของอังกฤษมาประยุกต์ใช้

5.1.1 หลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย
ลัทธิประชาธิปไตยแตกต่างไปจากลัทธิเทพาธิปไตยไตยอย่างไร ลัทธิทั้งสองเกิดขึ้นเพื่อความพยายามที่จะอธิบายและอ้างสิทธิเรื่องใด
แนวความคิดเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยนั้น ในอดีตได้มีแนวความคิดเกี่ยวกับผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยในยุคสมัยที่พระ มหากษัตริย์มีอำนาจในการปกครองรัฐก็ได้เกิดจากลัทธิเทพาธิปไตยขึ้น ต่อมาเมื่อผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐกดขี่ข่มเหงและรีดนาทาเร้นผู้คนในปกครอง เพื่อที่จะลิดรอนอำนาจของผู้ปกครองแผ่นดินก็ได้เกิดลัทธิประชาธิปไตยขึ้นมา

หลักในการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยของนักทฤษฎีคนใดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด และได้แบ่งแยกสาขาของอำนาจอธิปไตยออกเป็นสาขาอย่างไร
พิจารณาเรื่องการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยของมองเตสกิเออแล้ว การใช้อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศต่างๆมีองค์กรผู้ใช้สาขาของอำนาจอธิปไตย คือ รัฐสภาคณะรัฐมนตรีและศาล

5.1.2 วิวัฒนาการขององค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย
ระบอบการปกครองแบบรัฐสภาเกิดขึ้น โดยวิวัฒนาการการปกครองในประเทศอังกฤษและเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ ประเทศต่างๆ ได้ถือแบบอย่างในการจัดรูปแบบการปกครองของตน การปกครองระบอบรัฐสภาของอังกฤษมีความเป็นมาอย่างไร
วิวัฒนาการการปกครองของอังกฤษซึ่งค่อยๆเปลี่ยนแปลงลักษณะการปกครองทีละขั้น ตอน การต่อสู้ระหว่างขุนนางและประชาชนกับกษัตริย์ผู้ใช้อำนาจเด็ดขาดในการปกครอง ประเทศ ต่อมาเมื่อกษัตริย์ถูกลิดรอนอำนาจลงแล้ว บรรดาขุนนางและพระราชาคณะซึ่งรวมกันเป็นสภาขุนนางก็ถูกลิดรอนอำนาจโดยที่สภา สามัญ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นผู้ใช้อำนาจสำคัญๆ แทนทั้งสิ้น

5.1.3 ความเป็นมาขององค์กรนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตยของไทย
แนวทางในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันเป็นความเป็นมาขององค์กรนินิบัญญัติ หรือสภานั้นเริ่มต้นจากพระมหากษัตริย์ ขุนนาง หรือประชาชนมีการปูพื้นฐานและเตรียมการอย่างไร
ความคิดและเคลื่อนไหวเกี่ยวกับประชาธิปไตย ในระหว่างที่มีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชนั้น พระมหากษัตริย์หลายพระองค์มีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองขมา เป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญได้มีพระ ราชวิริยะอุตสาหะที่จะปูพื้นฐานการศึกษาและทดลองรูปแบบการปกครองในหมู่บุคคล ใกล้ชิดพระองค์

เมื่อได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง และมีองค์กรนิติบัญญัติตามระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแล้ว องค์กรนิติบัญญัติของไทยมีการพัฒนาการและมีปัญหาอย่างไร
รัฐธรรมนูญและองค์กรนิติบัญญัติของไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว จะพบว่าได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญหลายฉบับ มีการปฏิวัติรัฐประหารหลายรอบ การเลือกตั้งสมาชิกขององค์กรนิติบัญญัติขาดความต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 50 ปี

5.2 ลักษณะของรัฐสภา
1. รูปแบบของรัฐสภาอาจจำแนกได้สองรูปแบบ คือ สภาเดี่ยวและสภาคู่ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างและพื้นฐานทางการปกครองของแต่ละประเทศ
2. รัฐสภาของแต่ละประเทศประกอบด้วยสมาชิกหลายประเภท ซึ่งมีที่มาแตกต่างกันไปตามเหตุผลทางการปกครอง
3. ในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภาจำเป็นต้องจัดองค์กรภายในเพื่อเป็นกลไกในการดำเนินงาน ของรัฐสภา ตามอำนาจหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ

5.2.1 รูปแบบของรัฐสภา
รูปแบบของรัฐสภานั้นนอกจากพิจารณาจำแนกออกโดยพิจารณาถึง ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรนิติบัญญัติ และองค์กรบริหารโดยจำแนกเป็นรัฐสภาในรูปแบบการปกครองในระบอบประธานาธิบดี และรัฐสภาในรูปแบบการปกครองระบอบรัฐสภาแล้ว การจำแนกรูปแบบของรัฐสภายังพิจารณาได้จากจำนวนสภาที่ประกอบกันขึ้นรัฐสภา ซึ่งจะได้รูปแบบของรัฐสภาแบบสภาเดี่ยว และสภาคู่ ซึ่งแต่ละประเทศมีสภาเดี่ยวและสภาคู่มีเหตุผลความจำเป้นอย่างไร
เหตุผลความจำเป็นในการมีรูปแบบของสภาเดียวหรือของรัฐเดี่ยวและรัฐรวมมี เหตุผลแตกต่างกัน และแม้แต่ในรัฐเดี่ยวการมีสองสภาเหมือนกันก็ยังมีเหตุผลความจำเป็นแตกต่าง กัน โดยเฉพาะประเทศอังกฤษซึ่งมีเหตุผลทางประวัติศาสตร์การปกครอง ส่วนประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยวอื่นๆ มีเหตุผลแตกต่างกันออกไป

5.2.2 องค์ประกอบของรัฐสภา
องค์ประกอบที่สำคัญของรัฐสภาคือ มวลสมาชิกรัฐสภาซึ่งมีที่มาแตกต่างกันหลายทาง อธิบายที่มาของสมาชิกรัฐสภาซึ่งแตกต่างกัน
สมาชิกรัฐสภามิได้มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเท่านั้น การมีสมาชิกรัฐสภาจากวิธีการนอกเหนือจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มิได้หมายความว่าการปกครองจะไม่เป็นประชาธิปไตยหรือเป็นประชาธิปไตยแบบไม่ เต็มเม็ดเต็มหน่วยตัวอย่างของสมาชิกรัฐสภาในต่างประเทศ ต่างก็มีที่มาแตกต่างกัน

5.2.3 องค์ประกอบภายในของรัฐสภา
รัฐสภาประกอบด้วย สมาชิกมากการดำเนินงานของรัฐจึงต้องมีแบบฉบับในการจัดองค์กรภายในที่ดี เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ อธิบายองค์กรภายในของรัฐสภาประเภทต่างๆ
องค์กรภายในของรัฐสภามีลักษณะของการแบ่งงานกันทำตามความถนัดและความสนใจใน แต่ละสาขาได้แก่ คณะกรรมาธิการของสภาประเภทต่างๆ และตำแหน่งสำคัญๆภายในรัฐสภา ตลอดถึงหน่วยงานประจำของรัฐสภา

5.3 อำนาจหน้าที่ของรัฐสภา
1. กฎหมายเป็นข้อกำหนดในการจัดระเบียบสังคม ซึ่งประกาศใช้บังคับด้วยความเห็นชอบของคนในแต่ละสังคม รัฐสภาเป็นสถาบันทางการปกครองที่ถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในสังคม การจัดทำกฎหมายมีกระบวนการและขั้นตอน ที่อำนวยให้กฎหมายที่ประกาศใช้เป็นกฎหมายที่มีความเป็นธรรมและให้ความเสมอ ภาคแก่ประชาชนโดยทั่วไป
2. รัฐสภาในฐานะที่เป็นสถาบันตัวแทนของปวงชน ทำหน้าที่ในการสอดส่องดูแลผลประโยชน์ของส่วนรวมโดยการควบคุมการบริหารกิจการ บ้านเมืองด้วย นอกจากการจัดทำกฎหมาย การควบคุมฝ่ายบริหารนั้นมีมาตรการหลายอย่างที่กำหนดไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ และประเพณีปฏิบัติ
3. นอกจากการจัดทำกฎหมายและควบคุมฝ่ายบริหารแล้ว กฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ ยังกำหนดให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่อื่นๆ อีกคืออำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบกับเรื่องสำคัญๆ ของประเทศชาติ อำนาจหน้าที่ในการตีความรัฐธรรมนูญ ตลอดถึงอำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะของการบริหารและการตุลาการบางอย่างอีกด้วย

5.3.1 อำนาจหน้าที่ในการจัดทำกฎหมาย
องค์กรนิติบัญญัติมีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำกฎหมายได้แก่ พระราชบัญญัติซึ่งมีกระบวนการจัดทำคล้ายคลึงกันทั่วโลก ให้อธิบายขั้นตอนต่างๆ ในการจัดทำกฎหมายของไทยในกรณีที่กฎหมายได้รับการพิจารณาให้ความเห็นชอบโดย ไม่มีอุปสรรคใดๆ

ในแผนภูมิ ซึ่งแสดงกระบวนการจัดทำกฎหมายของรัฐสภาในกรณีไม่มีปัญหา
















พระราชกำหนดเป็นกฎหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตราขึ้น บังคับใช้ แต่ต้องให้องค์กรนิติบัญญัติพิจารณาอนุมัติในโอกาสแรกที่ทำได้ ให้อธิบายถึงบทบาทขององค์กรนิติบัญญัติในการพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด
อำนาจหน้าที่ในการจัดทำกฎหมายของรัฐสภา คือการพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด พระราชกำหนดคือกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราตามคำแนะนำของรัฐมนตรี พระราชกำหนดมี 2 ประเภท คือ พระราชกำหนดทั่วๆไป และพระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา
พระราชกำหนดทั่วไปมีเหตุผลและความจำเป็นในการออกพระราชกำหนดคือ
(1) ในกรณีฉุกเฉินมีความจำเป็นรีบด่วนในอันจะรักษาความปลอดภัยของประเทศหรือ เพื่อความปลอดภัยสาธารณะหรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือปัดป้อง ภัยพิบัติสาธารณะ และ
(2) จะเรียกประชุมสภาให้ทันท่วงทีไม่ได้ หรือในกรณีเช่นว่านั้นเกิดในในระหว่างสภาผู้แทนราษฎรถูกยุบ
พระราชกำหนดที่เกี่ยวกับภาษีอากร หรือเงินตรา มีเหตุผลและความจำเป็นในการออกพระราชกำหนดคือ
(1) ในระหว่างสมัยประชุม
(2) มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยภาษีอากร หรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วน และลับเพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน
การใช้บังคับเป็นกฎหมาย เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วก็บังคับใช้เป็นกฎหมาย
การอนุมัติเมื่อคณะรัฐมนตรีประกาศใช้พระราชกำหนดแล้วต้องเสนอมาเพื่อให้รัฐสภาอนุมัติโดย
(1) พระราชกำหนดทั่วไปต้องนำเสนอรัฐสภาในการประชุมรัฐสภาคราวต่อไปโดยไม่ชักช้า
(2) พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ต้องนำเสนอรัฐสภาภายใน 3 วัน นับจากวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีรัฐสภาอนุมัติพระราชกำหนดนั้นก็มีผลเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ถ้ารัฐสภาไม่อนุมัติพระราชกำหนดนั้นก็เป็นอันตกไป แต่ทั้งนี้ไม่กระทบกระทั่งกิจการที่ได้เป็นไปในระหว่างใช้พระราชกำหนด การอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนดให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

5.3.2 อำนาจหน้าที่ในการควบคุมฝ่ายบริหาร
อำนาจหน้าที่ในการควบคุมฝ่ายบริหารประการหนึ่งของฝ่ายนิติบัญญัติคือ การตั้งกระทู้ถามรัฐ มนตรีผลกระทบของการควบคุมฝ่ายบริหารโดยวิธีการตั้งกระทู้ถามนี้ จะมีผลต่อการบริหารงานอย่างไรบ้าง

แสดงกระบวนการตั้งกระทู้ถามของสมาชิกสภา

















การเสนอญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ มีขั้นต้อนปฏิบัติอย่างไร
การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ ดังนี้

















5.3.3 อำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบ และอำนาจหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด
องค์กรนิติบัญญัติที่มีอำนาจหน้าที่หน้าที่ในการให้ความเห็นชอบเรื่องสำคัญๆ หลายประการ ให้อธิบายถึงเรื่องต่างๆที่องค์กรนิติบัญญัติต้องให้ความเห็นชอบ
สภามีอำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบเรื่องสำคัญๆของประเทศเกี่ยวกับสถาบัน ประมุขของประเทศ การทำสนธิสัญญากับประเทศอื่นๆ การประกาศสงครามและการให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรรมการชุดต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

5.4 การเลือกตั้ง
1. อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนแต่การที่ราษฎรทุกคนจะใช้อำนาจนั้นย่อมเป็นไปไม่ ได้ ราษฎรจึงเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่หรือใช้อำนาจนั้นแทนตน
2. การเลือกตั้งมีหลายระบบและมีวิธีการที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของพื้นฐานทางการปกครองและโครงสร้างของสังคม
3. ตั้งแต่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ปี 2475 มาจนถึงปัจจุบัน มีการเลือกตั้งหลายครั้งทั้งการเลือกตั้งทั่วไปและการเลือกตั้งซ่อม การเลือกตั้งที่มีมาแล้วในประเทศไทยนั้นเคยใช้ระบบและวิธีการเลือกตั้งหลาย รูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยและภาวะของสังคมในขณะนี้

5.4.1 แนวความคิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
กล่าวกันว่า การเลือกตั้งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้น หมายความว่าอย่างไร
การที่ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของชาตินั้น จำเป็นจะต้องมอบหมายให้ตัวแทนของตนมาใช้อำนาจแทนการเลือกตั้ง ได้มีวิวัฒนาการทางความคิดมาตั้งแต่ประเทศอังกฤษ ได้มีการเลือกตั้งผู้แทนของชาติในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 การที่ประชาชนเลือกผู้แทนเข้าไปบริหารประเทศถือว่าประชาชนใช้สิทธิในอำนาจ อธิปไตย ถ้าผู้ใช้อำนาจอธิปไตยมิใช่บุคคลที่ประชาชนเลือกตั้งก็จะถือว่าเป็น ประชาธิปไตยไม่ได้

มีเหตุผลใดสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในเขตเลือกตั้งซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ เท่านั้น จึงได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้แทนของประชาชนทั้งประเทศ
มีเหตุผลหลายประการที่จะต้องถือว่าสมาชิกสภาผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้ง จากประชาชนในเขตพื้นที่เล็กๆ ของประเทศไทยที่เรียกว่า เขตเลือกตั้งนั้นเป็นตัวแทนของปวงชนทั่วประเทศ การถือว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้แทนปวงชน สามารถขจัดปัญหาต่างๆ ในการปฏิบัติงานของรัฐสภาและสมาชิกแต่ละคนได้อย่างไร

5.4.2 ระบบการเลือกตั้ง
ระบบการเลือกตั้งมีอยู่หลายระบบและมีวิธีการที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ อธิบายถึงวิธีการและระบบของการเลือกตั้งที่ใช้กันอยู่ในประเทศต่างๆ
วิธีเลือกตั้งแบ่งออกเป็นสองวิธีการใหญ่ๆ คือ การเลือกตั้งโดยทางตรงและการเลือกตั้งโดยทางอ้อม และระบบของการเลือกตั้งก็แบ่งเป็น 2 ระบบใหญ่ๆ คือ การเลือกตั้งระบบคะแนนเสียงข้างมากและระบบการเลือกตั้งแบบมีตัวแทนตามสัด ส่วนของคะแนนเสียง

5.4.3 การเลือกตั้งในประเทศไทย
การเลือกตั้งในประเทศไทยหลายครั้งที่ผ่านมาเป็นการเลือกตั้งด้วยวิธีการใด ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบใด และกำหนดเขตเลือกตั้งอย่างไร
การเลือกตั้งที่มีมาในประเทศไทยหลายครั้ง ได้ใช้วิธีการเลือกตั้งทั้งวิธีโดยตรงและวิธีการเลือกตั้งทางอ้อม ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบคะแนนเสียงข้างมากเป็นการการตัดสิน สำหรับเรื่องกำหนดเขตเลือกตั้งนั้นกระทำในรูป ทั้งรวมเขต และวิธีการผสม

5.5 พรรคการเมือง
1. พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญต่อแนวความคิดทางการเมือง ของประชากร และเป็นสื่อกลางที่มีระบบให้ประชาชนมีโอกาสเข้าร่วมทางการเมือง หรือการปกครองประเทศ
2. ระบบการเมืองในประเทศต่างๆ มีหลายระบบแตกต่างกันไปตามแนวความคิดทางการเมืองของประชากร สำนึกและความรู้ทางการเมืองของประชาชนตลอดถึงพื้นฐานทางสังคมและโครงสร้าง ทางการเมืองของประเทศนั้นๆ
3. บทบาทของพรรคการเมืองที่สมาชิกของพรรคมีที่นั่งในรัฐสภา ย่อมแตกต่างกันไปสุดแต่ว่าจะเป็นพรรคการเมืองที่สนับสนุนรัฐบาล หรือเป็นพรรคการเมืองฝ่ายค้าน
4. เมื่อมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้ว ได้มีการดำเนินการทางการเมืองในลักษณะของพรรคการเมืองขึ้นในประเทศไทยโดยได้ มีพรรคการเมืองต่างๆ เกิดขึ้นจำนวนมาก หลายพรรคได้ยุบเลิกไปแล้ว บางพรรคเกิดขึ้นใหม่ๆ มีสมาชิกรัฐสภาโยกย้ายสังกัดพรรคแยกตัวจากพรรคเดิมเพื่อตั้งพรรคใหม่อยู่ เสมอมาเป็นเหตุให้พิจารณาได้ว่าระบบพรรคการเมืองในประเทศไทยยังไม่เจริญงอก งาม

5.5.1 แนวความคิดเกี่ยวกับพรรคการเมือง
พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญ ในการปกครองประเทศในระบอบการปกครองต่างๆ เพราะเป็นสถาบันที่เป็นสื่อกลางทางความคิดทางการเมือง ระหว่างผู้บริหารประเทศและประชาชน อธิบายเรื่องนี้
หน้าที่และบทบาทของพรรคการเมืองมีอยู่หลายประการในอันที่จะเชื่อมโยงความคิด เห็นของราษฎรไปสู่ผู้บริหารประเทศ นอกจากนี้ ลักษณะกำเนิดของพรรคการเมืองยังมีลักษณะแสดงให้เห็นถึงรากฐานของนโยบายพรรค การเมือง ที่ตั้งอยู่บนแนวความคิดและความต้องการของประชาชน

5.5.2 ระบบพรรคการเมือง
ระบบพรรคการเมืองมีหลายระบบ อธิบายระบบพรรคการเมืองต่างๆ พร้อมทั้งให้แสดงข้อดีข้อเสียของแต่ละระบบด้วย
ระบบพรรคการเมืองยังมีหลายระบบแต่ละระบบ มีความเหมาะสมกับรูปลักษณ์การปกครองในแบบต่างๆ และแต่ละระบบยังมีจุดอ่อนในตัวเองอีกด้วยถ้าหากนำไปใช้ในรูปลักษณะหรือ บรรยากาศทางการเมืองที่ไม่เหมาะสมกับระบบ

5.5.3 บทบาทของพรรคการเมืองในรัฐสภา
บทบาทของพรรคการเมืองนอกจากจะพิจารณาในแง่ของบทบาทที่มีต่อสังคมแล้วพรรคการ เมืองยังมีบทบาทในรัฐสภาอีกด้วย อธิบายถึงบทบาทของพรรคการเมืองในรัฐสภา
บทบาทที่สำคัญของพรรคการเมืองในรัฐสภานั้นมี 2 ประการคือ บทบาทของพรรคการเมืองในฐานะที่เป็นพรรคฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายเสียงข้างมาก และพรรคการเมืองฝ่ายค้านหรือฝ่ายเสียงข้างน้อย รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ยอมรับบทบาททั้งสองประการนี้ของพรรคการเมืองในรัฐสภา

5.5.4 พรรคการเมืองในประเทศไทย
การปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยมีระบบพรรคการเมืองระบบใด และมีปัญหาอย่างไร
พรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นพรรคการเมืองที่มีลักษณะกำเนิดใน รัฐสภา และมีจำนวนหลายพรรคตลอดระยะเวลาที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยพรรคการเมือง ขาดความต่อเนื่องทำให้ประชาชนมีความเข้าใจระบบการเมืองน้อย และพรรคการเมืองขาดรากฐานที่มั่นคง

แบบประเมินหน่วยที่ 5
1. นักทฤษฎีทางการเมืองซึ่งแบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 สาขา ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการคือ มองเตสกิเออ (Montesquieu)
2. การปกครองแบบรัฐสภาเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศ อังกฤษ
3. การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ ปีพุทธศักราช 2475 ประเทศไทยได้นำแบบการปกครองระบอบรัฐสภามาใช้ ระบบรัฐสภาที่นำมาใช้นั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับระบบรัฐสภาของประเทศ อังกฤษ
4. ระบบสองสภา (Bicamoral System) มักเกิดขึ้นในประเทศที่ มีการปกครองแบบรัฐเดี่ยวและประเทศที่มีการปกครองแบบสหพันธรัฐทั้งสองแบบ
5. รัฐสภาประกอบด้วย มวลสมาชิกของรัฐสภาซึ่งมีที่มาแตกต่างกันประกอบกันเป็นรัฐสภา
6. องค์กรภายในของรัฐสภาได้แก่ คณะกรรมาธิการชุดต่างๆ และหน่วยงานประจำในรัฐสภา ตลอดถึงตำแหน่งสำคัญต่างๆ ในรัฐสภา
7. รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำกฎหมายอันได้แก่ การตราพระราชบัญญัติ การพิจารณาอนุมัติพระราชกำหนด และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
8. รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดย วิธีการที่สมาชิกตั้งกระทู้ถามและการเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วาง ใจคณะรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ
9. นอกจากอำนาจหน้าที่ในการจัดทำกฎหมายและการควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร แล้ว รัฐสภาแบบอังกฤษยังมีอำนาจหน้าที่ในการ พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อสนธิสัญญาที่ทำกับประเทศอื่น
10. โดยหลักสากล การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตคือ การแบ่งเขตเลือกตั้งเป็นเขตย่อยๆทั่วประเทศแต่ละเขตมีผู้แทนได้เพียงคนเดียว
11. บทบาทหน้าที่ที่สำคัญอย่างหนึ่งของพรรคการเมืองคือ บทบาทในการปลูกฝังความรู้และสำนึกทางการเมืองแก่ประชาชน
12. บทบาทของพรรคการเมืองในรัฐสภาได้แก่ การทำหน้าที่เป็นพรรคการเมืองฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน



หน่วยที่ 6 องค์กรบริหาร

1. อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็นอำนาจย่อยๆ องค์กรบริหารเป็นองกรหนึ่งซึ่งใช้อำนาจอธิปไตย
2. บุคคลผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรบริหาร ของแต่ละประเทศมีลักษณะแตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ
3. ความรับผิดชอบของบุคคลที่ใช้อำนาจขององค์กรบริหาร เป็นเครื่องประกันว่าผู้ใช้อำนาจบริหารจะใช้อำนาจอย่างถูกต้องเหมาะสม
4. องค์กรบริหารเป็นองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวาง โดยรวมถึงอำนาจอธิปไตยอื่นๆ ซึ่งมีองค์กรอื่นๆ เป็นผู้ใช้อยู่แล้ว

6.1 ผู้ใช้อำนาจบริหาร
1. รัฐต้องมีประมุขของรัฐ ซึ่งอาจจะมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามประวัติศาสตร์ของแต่ละประเทศ
2. หัวหน้าองค์กรบริหาร ของแต่ละประเทศย่อมแตกต่างกัน ตามที่มาของหัวหน้าองค์กรบริหาร
3. ในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรบริหารจะมีบุคคลหลายๆฝ่ายร่วมกันในการวางแผน กำหนดนโยบายและรับผิดชอบ ซึ่งอาจจะเป็นการรับผิดชอบร่วมกันหรือ ความรับผิดชอบส่วนตัว

6.1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจบริหาร
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 3 บัญญัติว่า “อำนาจอธิปไตยมาจากปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขใช้อำนาจนั้นในทาง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้” จากบทบัญญัตินี้จะเห็นได้ว่าองค์กรต่างๆ ที่เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในนามของพระมหากษัตริย์คือ
(1) รัฐสภา
(2) คณะรัฐมนตรี
(3) ศาล

6.1.2 ผู้ใช้อำนาจบริหาร
ตามทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญใครเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร
ตามทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญอาจแบ่งประเภทผู้ใช้อำนาจบริหารได้ดังนี้คือ
(1) ประมุขของรัฐซึ่งอาจเป็นได้ทั้งพระมหากษัตริย์และประธานาธิบดี
(2) หัวหน้าฝ่ายบริหาร อาจเป็นนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี
(3) คณะรัฐมนตรี
(4) รัฐมนตรี

อธิบายความรับผิดชอบของรัฐมนตรี
ความรับผิดชอบของรัฐมนตรี ในการบริหารราชการมีอยู่ 2 ประเภทคือ
(1) ความรับผิดชอบร่วมกันซึ่งเป็นความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของคณะรัฐมนตรี
(2) ความรับผิดชอบส่วนตัวเป็นความรับผิดชอบในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชการในกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งรัฐมนตรีผู้นั้นรับผิดชอบ

6.2 อำนาจหน้าที่ขององค์กรบริหาร
1. อำนาจหลักขององค์กรบริหารคือบริหารประเทศให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรบริหารประสบผลสำเร็จ องค์กรบริหารจึงมีอำนาจในการออกกฎหมายด้วย
3. ในการปฏิบัติหน้าที่ขององค์กรบริหารมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ของประชาชนอย่างมากและบางครั้งอาจเกิดกรณีพิพาทกับกับประชาชน
4. องค์กรบริหารอาจใช้อำนาจซึ่งองค์กรอื่นมีหน้าที่โดยตรงได้ภายในขอบเขตที่จำกัด
5. ในภาวะฉุกเฉินองค์กรบริหารเป็นองค์กรเดียวที่สามารถจะระงับภาวะนั้นได้โดย เร็วที่สุดจึงต้องมีอำนาจพิเศษซึ่งองค์กรบริหารสามารถใช้ได้ในภาวะฉุกเฉิน

6.2.1 อำนาจหน้าที่ในการบริหารประเทศขององค์กรบริหาร
อำนาจในการออกกฎหมายขององค์กรบริการ
ในการปกครองแบบรัฐสภานั้น องค์กรบริหารมีอำนาจออกกฎหมายเพื่อให้การบริหารประเทศดำเนินไปตามนโยบายที่ องค์การบริหารได้แถลงต่อองค์กรนิติบัญญัติขณะเมื่อเข้าปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และพระราชกำหนดที่องค์กรบริหารกราบบังคมทูลให้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในกรณีเร่งด่วนที่ไม่อาจเปิดสมัยประชุมได้
การออกกฎหมายขององค์กรบริหารนั้น องค์กรบริหารต้องคำนึงถึงนโยบายที่ได้แถลงไว้ด้วย นอกจากนี้ยังต้องแน่ใจว่าจะสามารถคุมเสียงข้างมากในองค์กรนิติบัญญัติได้ ด้วย มิฉะนั้นอาจถูกองค์กรนิติบัญญัติคัดค้านไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายที่เสนอ เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

6.2.2 อำนาจหน้าที่ในด้านนิติบัญญัติขององค์กรบริหาร
อำนาจขององค์กรบริหารในด้านนิติบัญญัติ
อำนาจขององค์กรบริหารในด้านนิติบัญญัติ โดยปกติจะต้องมีกฎหมายขององค์กรบริหารให้อำนาจองค์กรบริหารที่จะออกกฎหมาย เรื่องใดเรื่องหนึ่งไว้ เพื่อความสะดวกในการบริหารประเทศ ดังนั้น กฎหมายที่ออกโดยองค์กรบริหารประเภทนี้ จึงมีฐานะต่ำกว่ากฎหมายขององค์กรนิติบัญญัติ อย่างไรก็ตามในกรณีฉุกเฉินหรือในกรณีพิเศษ องค์กรบริหารก็มีอำนาจที่จะออกกฎหมายที่มีฐานะเท่ากับกฎหมายขององค์กร นิติบัญญัติได้ ถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้โดยกฎหมายรัฐธรรมนูญ

6.2.3 อำนาจหน้าที่ในด้านตุลาการขององค์กรบริหาร
การใช้อำนาจตุลาการขององค์กรบริหาร
อำนาจขององค์กรบริหารในด้านตุลาการเป็นอำนาจที่องค์กรบริหารมีไว้ เพื่อเป็นเครื่อง มือช่วยองค์กรบริหารในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวกับการวินิจฉัยกรณีพิพาท เล็กๆ น้อยๆ ระหว่างหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกับเอกชน ซึ่งจะแบ่งเบาภาระขององค์กรตุลาการ โดยปกติแล้วการใช้อำนาจในด้านตุลาการขององค์กรบริหารจะไม่ถือว่าสิ้นสุดเด็ด ขาด หากเอกชนไม่พอ ใจในผลของการใช้อำนาจดังกล่าวก็มีสิทธิที่จะนำข้อพิพาทไปให้องค์กรตุลาการ เป็นผู้วินิจฉัยได้

6.2.4 อำนาจหน้าที่ในยามฉุกเฉินขององค์กรบริหาร
อำนาจขององค์กรบริหารในสภาวะไม่ปกติ
อำนาจขององค์กรบริหารในสภาวะไม่ปกติอาจเกิดได้ 2 กรณี คือ
(1) สภาวะไม่ปกติเนื่องจากเหตุการณ์ภายนอกประเทศ
(2) สภาวะไม่ปกติเนื่องมาจากเหตุการณ์ภายในประเทศ อำนาจขององค์กรบริหารในสภาวะไม่ปกติเนื่องจากเหตุการณ์ภายนอกคลุมถึงการทำ สนธิสัญญา ประกาศสงครามและประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งเป็นอำนาจหลักขององค์กรบริหารที่จะนำมาใช้ในสภาวะไม่ปกติ อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ภายในประเทศ

แบบประเมินหน่วยที่ 6
1. ในการปกครองระบบประธานาธิบดี ผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอาจจะเป็น ประมุขของประเทศและหัวหน้าฝ่ายบริหารในขณะเดียวกัน
2. ในการปกครองระบอบรัฐสภา ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์การบริหารจะต้องรับผิดชอบต่อ องค์การนิติบัญญัติ (รัฐสภา)
3. คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่ ช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่หัวหน้าฝ่ายบริหารในการบริหารประเทศ
4. บุคคลในคณะรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบในการบริหารราชการ สองประเภท
5. เมื่อองค์กรนิติบัญญัติมีมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่ง รัฐมนตรีนั้นควรจะต้องลาออกจากการเป็นรัฐมนตรี
6. ในประเทศไทยองค์กรบริหารมีอำนาจ ตราพระราชกำหนด
7. ในการปกครองระบบประธานาธิบดี ประธานาธิบดีมีอำนาจ ยับยั้งร่างกฎหมายที่องค์กรนิติบัญญัติตราขึ้น
8. ในการใช้อำนาจบริหารขององค์กรบริหารในเรื่องสำคัญๆบางเรื่อง เช่นการประกาศสงครามจะต้องได้รับความเห็นชอบจาก รัฐสภา (องค์กรนิติบัญญัติ)
9. ในยามฉุกเฉินองค์กรบริหารมีอำนาจ ประกาศใช้กฎอัยการศึก
10. การประกาศใช้กฎอัยการศึกมีผลสำคัญถือเป็นการ เพิ่มอำนาจให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารและในขณะเดียวกันก็ลดอำนาจของเจ้า หน้าที่ฝ่ายพลเรือน
11. โดยทั่วไปองค์กรบริหารใช้อำนาจในทางตุลาการ ในการดำเนินการบริหารประเทศเป็นประจำ
12. ในการประกาศใช้กฎอัยการศึกองค์กรบริหารสามารถประกาศใช้ (ก) เมื่อมีภาวะฉุกเฉิน (ข) ให้มีผลบังคับใช้ทั้งประเทศ (ค) ให้มีผลบังคับใช้เฉพาะในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง



หน่วยที่ 7 องค์กรตุลาการ

1. องค์กรตุลาการ เป็นองค์กรซึ่งทำหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี และเป็นการใช้อำนาจหน้าที่หนึ่งของอำนาจอธิปไตย
2. ในด้านการแบ่งแยกหน้าที่ องค์กรตุลากรมีความสำคัญเท่ากับองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติและองค์กรที่ใช้อำนาจบริหาร
3. องค์กรตุลาการมีที่มาจากการปกครองของประเทศในระบบพระมหากษัตริย์และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับโดยสอดคล้องกับระบบการปกครองของประเทศ
4. โครงสร้างขององค์กรตุลาการประกอบด้วยศาลยุติธรรมและศาลพิเศษที่มีอำนาจในการ พิจารณาพิพากษาคดีตามที่กฎหมายว่าด้วยศาลนั้นได้กำหนดไว้
5. การสรรหาและแต่งตั้งผู้พิพากษาและตุลาการ มีคณะกรรมการทำหน้าที่รับผิดชอบในด้านการบริหารงานบุคคล
6. ผู้พิพากษาและตุลาการมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงของอำนาจใดๆ ในอันที่จะทำให้เสียความเป็นธรรม

7.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับองค์กรตุลาการ
1. องค์กรตุลาการเป็นองค์กรซึ่งใช้อำนาจหน้าที่ในทางตุลาการ หรืออำนาจหน้าที่ในการพิจาราพิพากษาอรรถคดีต่างๆ ซึ่งถ้าจะมองในด้านของการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยแล้ว องค์กรตุลาการมีความสำคัญเท่าองค์กรที่ใช้อำนาจนินิบัญญัติและองค์กรที่ใช้ อำนาจบริหาร
2. องค์กรตุลาการได้วิวัฒนาการมาโดยสอดคล้องกับระบบปกครองของประเทศ นับตั้งแต่ระบบพระมหากษัตริย์จนถึงระบบประชาธิปไตย
3. ในการปกครองระบบกษัตริย์นั้น พระมหากษัตริย์เป็นองค์อธิปัตย์ อำนาจทุกอย่างขึ้นอยู่กับพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น

7.1.1 ความหมายขององค์กรตุลาการ
การพิจารณาพิพากษาอรรถคดี เป็นอำนาจของศาลที่จะต้องดำเนินการตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์
ศาลคือองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการที่เป็นหนึ่งในสามของอำนาจอธิปไตย ซึ่งพระมหา กษัตริย์ทรงมอบหมายให้ดำเนินการแทน ดังนั้นศาลจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีทั้งแพ่ง และคดีอาญา และคดีแรงงานการดำเนินการกระบวนการพิจารณาก่อนที่จะมีคำพิพากษาหรือเมื่อมี คำพิพากษาแล้ว ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด การดำเนินกระบวนการพิจารณาอรรถคดีดังกล่าวนั้นจึงเป็นการปฏิบัติในพระ ปรมาภิไธยขององค์พระมหากษัตริย์

7.1.2 วิวัฒนาการขององค์กรตุลาการ
อธิบายความเป็นมาขององค์กรตุลาการ และการใช้อำนาจตุลาการ
การใช้อำนาจตุลาการของไทย ปรากฏหลักฐานในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี คือ ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งได้วางหลักปฏิบัติผู้ที่ทำหน้าที่ที่ทำหน้าที่พิจารณาและการไต่สวนทวน พยาน
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น มีกรมวัง กรมคลัง และ กรมนาเป็นผู้รับชำระคดี ต่อมามีศาลในหัวเมืองฝ่ายเหนือ และศาลในหัวเมืองฝ่ายใต้รวมตลอดถึงศาลในกรมต่างๆ ที่ทำหน้าที่ชำระคดี
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการจัดตั้งศาลโปลิส และศาลอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก การดำเนินการผ่านหลายขั้นตอนคือมีทั้งกรมรับฟ้อง ลูกขุน ณ ศาลหลวง ตระลาการประจำกรมฯ และผู้ปรับบทกฎหมาย ไม่มีการอุทธรณ์ฎีกา ใช้ระบบจารีตนครบาลในการสอบสวน ต่างประเทศได้ขอใช้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต จนถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ปรับปรุงระบบการศาล ตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น ให้ศาลทุกศาลขึ้นกับกระทรวงยุติธรรม และได้จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น หลังจากนั้นก็ได้วิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบันนี้

7.2 โครงสร้างขององค์กรตุลาการ
1. ศาลยุติธรรมหมายถึงศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายเอกชนคือคดีแพ่ง หรือคดีที่พลเรือนกระทำผิดทางอาญาหรือกระทำผิดร่วมกับบุคคลที่อยู่ในอำนาจ ของศาลทหาร
2. ศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา
3. ศาลพิเศษ หมายถึงศาลที่ตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาพิพากษาการกระทำผิดทางอาญาของบุคคลบาง ประเภท เช่น เด็กและเยาวชน ทหาร หรือศาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีเฉพาะเรื่อง เช่น คดีแรงงาน และคดีปกครอง

7.2.1 ศาลยุติธรรม
อธิบายความหมายของศาลยุติธรรม และศาลยุติธรรมแบ่งเป็นกี่ชั้น อะไรบ้าง
ศาลยุติธรรม เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา หรือคดีที่พลเรือนกระทำผิดอาญาร่วมกับบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร
ศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ศาลชั้นต้นแบ่งออกเป็นหลายประเภท ศาลอุทธรณ์ศาลเดียว และศาลฎีกาศาลเดียว

7.2.2 ศาลพิเศษ
ศาลพิเศษจัดตั้งโดยอาศัยกฎหมายใด ขณะนี้มีอยู่กี่ศาล มีอำนาจอย่างไร
ศาลพิเศษจัดตั้งโดยอาศัยพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลพิเศษขณะนี้มอยู่ 3 ศาลคือ
(1) ศาลคดีเด็กและเยาวชน จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนตั้งขึ้นเพื่อพิจารณา พิพากษาคดีเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนซึ่งมีอายุไม่ถึง 18 ปี บริบูรณ์
(2) ศาลแรงงาน จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแรงงานที่เกี่ยวกับการแจ้งงาน หรือข้อพิพาทตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครอง และกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
(3) ศาลทหาร จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารแบ่งออกเป็นศาลทหารในเวลาปกติ กับศาลทหารในเวลาไม่ปกติ
ศาลทหารในเวลาปกติมีสามชั้น คือศาลทหารชั้นต้น ศาลทหารชั้นกลาง และศาลทหารสูงสุด ส่วนศาลทหารในเวลาไม่ปกติมีศาลทหารเดี่ยว โจทก์และจำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาได้

7.3 ผู้พิพากษาและตุลาการ
1. การสรรหาและการแต่งตั้งผู้พิพากษาและตุลาการดำเนินการโดยใช้วิธีผสมกล่าวคือ เริ่มต้นด้วยการคัดเลือกและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในภายหลัง
2. การสรรหาผู้พิพากษาในบางประเทศได้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับผู้พิพากษาโดยเฉพาะ เช่นในประเทศฝรั่งเศส สำหรับประเทศไทย ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมคัดเลือกจากบุคคลซึ่งสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทาง กฎหมาย และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษาปริญญาตรีทางกฎหมาย และสอบไล่ได้ตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตสภา สำหรับตุลาการศาลทหาร มีหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาโดยเฉพาะ
3. ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม และตุลาการศาลทหาร มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง ความเป็นอิสระนี้ได้มีการรับรองโดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย

7.3.1 การสรรหาและการแต่งตั้งผู้พิพากษาและตุลาการ
การสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมมีหลักเกณฑ์อย่างไร
การสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาในศาลยุติธรรมมีหลักเกณฑ์ดังนี้คือ ต้องเป็นผู้สำเร็จปริญญาตรีทางกฎหมาย สอบไล่ได้เนติบัณฑิต มีสัญชาติไทยโดยการเกิด อายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี บริบูรณ์ และต้องผ่านการสอบคัดเลือกตามที่คณะกรรมการตุลาการกำหนด หรือเมื่อคณะกรรมการตุลาการพิจารณาเห็นว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ ระบุไว้ในพระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายตุลาการ ก็ให้คัดเลือกเป็นผู้พิพากษาได้ ซึ่งทั้งสองกรณีต้องผ่านการอบรมจากกระทรวงยุติธรรมไม่น้อยกว่า 1 ปี

การสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งตุลาการในศาลทหารมีหลักเกณฑ์อย่างไร
การคัดเลือกตุลาการศาลทหารแบ่งออกเป็น ตุลาการพระธรรมนูญ และตุลาการศาลทหาร
ตุลาการพระธรรมนูญคัดเลือกจากผู้สอบไล่ได้ชั้นปริญญาตรีทางกฎหมาย มีสัญชาติไทยโดยการเกิด มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ และผ่านการสอบแข่งขันตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหมกำหนด และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีคำสั่งแต่งตั้งเป็นนายทหารสัญญาบัตรยศว่า ที่ร้อยตรี ว่าที่เรือตรี ว่าที่เรืออากาศตรี
การคัดเลือกตุลาการศาลทหาร ได้แก่นายทหารชั้นสัญญาบัตรประจำการ มียศทหารชั้นร้อยตรี เรือตรี และเรืออากาศตรีขึ้นไป และอาจแต่งตั้งนายทหารนอกประจำการเป็นตุลาการได้ เมื่อผู้มีอำนาจเห็นสมควร

7.3.2 ความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและตุลาการ
เหตุใดจึงต้องให้ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาคดีพิจารณาได้จากหลักฐานใด
เพราะเกิดจากการพิจารณาพิพากษาคดี มีลักษณะเป็นงานที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คู่ความ ซึ่งอาจให้คุณและโทษแก่ผู้นั้น การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาและตุลาการจึงไม่ควรอยู่ภายใต้อิทธิพลใดๆ และปราศจากการแทรกแซงจากอำนาจภายนอกทั้งสิ้น
พิจารณาได้จากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่มาตรา 169-176 พระราช บัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการ พ.ศ. 2521 และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 (ฉบับแก้ไข)

แบบประเมินหน่วยที่ 7
1. องค์กรตุลาการของไทยเป็นองค์กรซึ่งทำหน้าที่ พิจารณาพิพากคดีต่างๆ
2. การแต่งตั้งและถอดถอนตุลาการศาลทหารเป็นอำนาจของ กระทรวงกลาโหม
3. ศาลพลเรือน หรือศาลยุติธรรมแบ่งออกเป็น 3 ชั้นตามลำดับคือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา
4. องค์กรที่จัดขึ้นเพื่อคุ้มครองความเป็นอิสระของผู้พิพากษาคือ คณะกรรมการตุลาการ
5. ศาลทหารแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ศาลทหารในเวลาใช้กฎอัยการศึกและศาลทหารในเวลาปกติ
6. ศาลพิพากษาจัดตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับ คดีเฉพาะเรื่องเช่นคดีแรงงาน
7. คดีอาญาที่เกี่ยวกับกรมแรงงาน ไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน
8. พลเรือนที่กระทำผิดอาญาร่วมกับทหาร ไม่ได้อยู่ในอำนาจศาลทหาร
9. การจัดตั้งศาลพิเศษจัดตั้งโดย พระราชบัญญัติ
10. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ปรับปรุงระบบศาลที่สำคัญคือ จัดตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้น



หน่วยที่ 8 สิทธิเสรีภาพของประชาชน

1. สิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นแนวความคิดทางการเมืองของชาวตะวันตกเพื่อกำจัด อำนาจของรัฐ ซึ่งมีที่มาจากแนวความคิดในเรื่องกฎหมายธรรมชาติ คำสอนและหลักศาสนา และกฎหมาย และคำประกาศที่รองรับสิทธิเสรีภาพของประชาชนของประเทศต่างๆ
2. สิทธิเสรีภาพของประชาชนนอกจากจะเป็นสิทธิที่จำกัดอำนาจของรัฐแล้ว ยังเป็นสิทธิต่อรัฐอีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดของลัทธิเศรษฐกิจและหลักศาสนา

8.1 แนวความคิดที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชน
1. คำว่า “สิทธิ” มีความหมายเป็นสองนัย นัยแรกเป็นสิทธิทางกฎหมายและนัยที่สองเป็นสิทธิทางศีลธรรม
2. ความหมายดั้งเดิมของสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสิทธิแห่งการจำกัดอำนาจของรัฐ
3. แนวความคิดในเรื่อง “กฎหมายธรรมชาติ” เป็นแนวความคิดที่เชื่อกันว่านอกเหนือจากกฎหมายที่รัฐบัญญัติขึ้นใช้บังคับ แล้วยังมีกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยมนุษย์มิได้สร้างขึ้น แต่เป็นกฎหมายที่ใช้บังคับได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่
4. คำสอนและหลักศาสนามีหลักการที่ส่งเสริม และสนับสนุนเสรีภาพของมนุษย์ในเรื่องความเสมอภาคเท่าเทียมกัน ความสำนึกในศักดิ์ศรีของมนุษย์ และการจำกัดอำนาจของรัฐ
5. กฎหมายและคำประกาศที่รับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนของประเทศต่างๆ มีสาระ สำคัญที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในร่างกายชีวิต และทรัพย์สิน ตลอดจนสิทธิเสรีภาพในทางการเมืองที่มุ่งเน้นถึงอำนาจของรัฐบาลที่ต้องมาจาก ปวงชนและความเสมอภาคเท่าเทียมกัน

8.1.1 บทนำ
ความหมายของ สิทธิกฎหมาย และสิทธิทางศีลธรรม
สิทธิทางกฎหมายได้แก่อำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายรับรอง และคุ้มครอง เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รับรองสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลไว้ หากมีบุคคลอื่น มาเอาทรัพย์นั้นไปเสียจากการครอบครองเจ้าของกรรมสิทธิ์เจ้าของทรัพย์สินนั้น มีสิทธิฟ้องศาลเพื่อให้คุ้มครองสิทธิของตน
ส่วนสิทธิทางศีลธรรม เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นจากความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไป วิถีทางที่ถูกต้องและเป็นธรรมในกรณีใดควรเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ แต่วิถีทางที่ถูกต้องและเป็นธรรมในกรณีนั้นๆ อาจยังไม่มีกฎหมายรับรองคุ้มครอง หรือบังคับให้เป็นไปตามสิทธิดังกล่าวนั้น

8.1.2 ความหมายดั้งเดิมของแนวความคิดที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ความหมายดั้งเดิมของแนวความคิดที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชน
แนวความคิดที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของประชาชนมีกำเนิดหรือที่มาจากแนวความคิด ในเรื่องสิทธิธรรมชาติที่เป็นแนวความคิดทางการเมืองหรือปรัชญาทางการเมือง ของชาวตะวันตก สาระสำคัญโดยย่อของแนวความคิดในเรื่อง “สิทธิธรรมชาติ” มีว่า มนุษย์ทั้งหลายเกิดมาเท่าเทียมกัน มนุษย์มีสิทธิบางประการที่ติดตัวมาแต่กำเนิด สิทธิดังกล่าวได้แก่ สิทธิในชีวิต เสรีภาพในร่างกาย สิทธิในทรัพย์สิน และความเสมอภาค
อย่างไรก็ตาม มีผู้เห็นว่าความมุ่งหมายที่แท้จริงของนักปรัชญาหรือนักคิดทางการเมืองซึ่ง เสนอแนวความคิดในเรื่อง “สิทธิธรรมชาติ” ก็เพื่อจำกัดอำนาจของรัฐ หรือ “ผู้มีอำนาจปกครอง” ดังนั้น ความหมายดั้งเดิมของสิทธิเสรีภาพของประชาชนก็คือสิทธิในการจำกัดอำนาจรัฐ นั่นเอง
สิทธิในการจำกัดอำนาจ

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

อยากได้สรุปบทที่เหลือของกฎหมายมหาชนค่ะ
41201 ตั้งแต่ 9-15